ทำไม ? ต้องแช่น้ำแข็ง ? หลังจาก การแข่งขันหรือซ้อมกีฬาเสร็จ

? ส่วนใหญ่ เมื่อพูดถึงการแช่น้ำแข็ง เราไม่ได้หมายถึงการแช่ในอ่าง/ถังที่ใส่น้ำแข็งเป็นก้อนเพียงอย่างเดียว เทคนิคนี้จะเป็นการใช้น้ำผสมกับน้ำแข็งซึ่งเป็นการรักษา โดยใช้ความเย็นวิธีหนึ่ง ที่เรียกว่า Cryotherapy วิธีการรักษาด้วยความเย็นเป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปแล้วว่า ใช้ในการรักษาอาการบาดเจ็บใหม่ๆ (24-48 ชั่วโมงหลังจากได้รับบาดเจ็บ) เช่น เนื้อเยื่อฉีกขาด เอ็นอักเสบ มีภาวะ delay onset muscle soreness (DOMS) โดยให้ผลการรักษา ได้แก่

  • ห้ามเลือด
  • ลดการอักเสบของเนื้อเยื่อ
  • ลดบวม
  • ลดการเกร็งตัวของกล้ามเนื้อ
  • ช่วยขจัดกรดแลคติคออกจากเนื้อเยื่อ
  • ลดอัตราการเผาผลาญของเนื้อเยื่อ

?นอกจากนี้ ความเย็นมีผลต่อแรงของกล้ามเนื้อ ซึ่งงานวิจัยพบว่า หลังจากให้ความเย็น จะมีการเพิ่มของแรงกล้ามเนื้อมากกว่าก่อนใช้ความเย็น ซึ่งเกิดจากการเร่งการทำงานของ motor unit ในกล้ามเนื้อ เพิ่มเลือดที่ไปเลี้ยงกล้ามเนื้อจากการเปลี่ยนแปลงของ sympathetic nerve activity และอาจได้แรงกระตุ้นจากภาวะทางจิตใจร่วมด้วย

?ความเย็นมีผลช่วยลดอาการเกร็งโดยช่วยกระตุ้นการทำงานของอัลฟามอเตอร์นิวโรนและลดการทำงานของแกมมามอเตอร์นิวโรนทำให้ความถี่ในการสั่งงานลดลง จึงลดอาการเกร็งได้

?ความเย็นมีผลต่อระบบหัวใจและไหลเวียนเลือด ช่วยให้ร่างกายเย็นลง เพิ่มแรงต้านทานหลอดเลือดส่วนปลาย ความดันโลหิต, Stroke volume มากขึ้น และอัตราการเต้นของหัวใจ, Cardiac output, การไหลของเลือดส่วนปลายลดลง

การเลือกใช้อุณหภูมิในการแช่

อุณหภูมิที่ใช้ในการแช่ส่วนใหญ่ประมาณ 15-20 องศาเซลเซียส ทำได้โดยการผสมน้ำและน้ำแข็ง ให้ได้อุณหภูมิตามที่ต้องการ เพราะการตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิทั้งเฉพาะที่และทั่วร่างกายโดยกลไกทางระบบประสาทขึ้นอยู่กับตัวรับความรู้สึกที่ผิวหนัง และทางเดินเส้นประสาทนำเข้าที่จะต้องมีความปกติดี จึงทำให้เกิดการตอบสนองที่เหมาะสม ใยประสาทที่รับความเย็นจะเริ่มนำความรู้สึกเจ็บปวดแทนที่ความรู้สึกเย็นมากขึ้นหากใช้อุณหภูมิต่ำกว่า 15 องศาเซลเซียส ซึ่งเป็นอุณหภูมิที่หลอดเลือดหดตัวจนเนื้อเยื่อเริ่มเกิดภาวะขาดเลือดทำให้ได้รับอันตรายได้ และหากใช้อุณหภูมิที่เย็นจัดเกินไปจะทำให้บริเวณที่บาดเจ็บมีการบวมเพิ่มขึ้นด้วย ส่วนตัวรับความรู้สึกอุ่นที่ผิวหนังจะเริ่มทำงานที่อุณหภูมิ 30 องศาเซลเซียส หากเริ่มต้นผสมน้ำที่อุณหภูมิสูงกว่า 20 องศาเซลเซียสอุณหภูมิของน้ำภายหลังจากนักกีฬาแช่ตัวจะอุ่นเร็วขึ้น ทำให้การลดอุณหภูมิแกนกลางไม่ได้ผลดีเท่าที่ควร อีกทั้งกระตุ้นให้ตัวรับความรู้สึกอุ่นเริ่มทำงานเร็วขึ้นส่งผลให้หลอดเลือดขยายตัวมากขึ้นได้

การตอบสนองต่อความเย็นโดยกลไกทางระบบไหลเวียนเลือดซึ่งร่างกายมีกลไกควบคุมอุณหภูมิโดยการถ่ายเทความร้อนระหว่างหลอดเลือดแดงและหลอดเลือดดำลึก ซึ่งมีทิศทางการไหลของเลือดที่ตรงข้ามกัน เรียกว่า “countercurrent heat exchange” ในสภาพที่เย็น หลอดเลือดดำผิวจะตีบตัว เลือดดำจากชั้นตื้นจะไหลสู่หลอดเลือดดำลึกมากขึ้น การระบายความร้อนจากหลอดเลือดแดงจะผ่านหลอดเลือดดำลึกได้ดีขึ้นซึ่งจะช่วยลดความร้อนของกล้ามเนื้อได้เร็วขึ้น

❄ การตอบสนองความรู้สึกเมื่อได้รับความเย็น

ความรู้สึกที่ได้รับความเย็นอาจไม่ค่อยสบายในช่วง 2-3 นาทีแรกเพราะร่างกายจะค่อยๆ เย็นขึ้น จนเย็นจัด จากนั้นจะรู้สึกแสบ ปวดและผลสุดท้ายที่ต้องการคืออาการชา ทำให้นักกีฬารู้สึกทรมานจากความเย็นสักครู่ จากนั้นอาการปวดจึงลดลงได้ ในฐานะของผู้รักษาจึงควรอธิบายความรู้สึกนี้ให้นักกีฬาทราบก่อน โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่แช่ในน้ำแข็งเป็นครั้งแรก

 

ที่มา facebook : Football School News

Warut